เนื้อหา
การเผยแพร่ผลงาน
คณะวิทยากรของคลินิกเทคโนโลยี วิทยาลัยเทคนิคนครนายก ได้มีโอกาสนำเทคโนโลยีต่างๆ ไปสู่ชุมชนในจังหวัดน่านครั้งนี้ 5 เรื่องคือ
1.การใช้ไคโตซานและการทำไคโตซานแดง เพื่อลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร อันจะช่วยกระตุ้นให้พืชสร้างสารป้องกันโรคและแมลง ซึ่งจะส่งผลให้พืชเจริญเติบโตได้ดีขึ้น
- 2.เครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าว ที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อลดการใช้แรงงานคนในการทำนาดำ ซึ่งเป็นวิธีการปลูกข้าวที่ให้ผลผลิตมากกว่าวิธีทำนาแบบอื่น เนื่องจากสามารถหยอดเมล็ดข้าวได้ครั้งละหลายๆหลุม ในระยะเท่าๆกันเพียงครั้งเดียว โดยไม่ต้องเพาะต้นกล้าและปักดำ อันจะทำให้เสียเวลาและต้นกล้าที่ช้ำจะไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร
- 3.เครื่องบีบน้ำมันงาขนาดเล็ก เป็นเครื่องมือที่ช่วยทุ่นแรงการสกัดน้ำมันงาด้วยวิธีสกัดเย็น ซึ่งอาศัยหลักการหมุนของมอเตอร์ไฟฟ้าเป็นต้นกำลังไปหมุนเครื่องสกรูเพรส เพื่ออัดเม็ดงาให้แยกน้ำมันออกจากกาก เครื่องดังกล่าวนี้สามารถนำไปปรับใช้กับเมล็ดธัญพืชอื่นๆที่มีน้ำมันได้ เช่น เมล็ดมะรุมหรือเนื้อมะพร้าว เป็นต้น
- 4.ผลิตภัณฑ์น้ำมันสมุนไพรงาหอมเป็นผลิตภัณฑ์ที่บรรเทาอาการปวดเมื่อยและอาการอักเสบของเอ็นหรือกล้ามเนื้อ อันเป็นผลผลิตต่อเนื่องจากเครื่องบีบน้ำมันงา
- 5.ผลิตภัณฑ์น้ำมันมะรุม หรือ Moringa Oilเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของน้ำมันมะรุมกับน้ำมันหอมระเหยไพลในอัตราส่วนที่เหมาะสม จะทำให้มีสรรพคุณในการบำรุงผิวพรรณและรักษาสิว ฝ้า จุด กระ ด่าง ดำ
- ผลงานของคลินิกเทคโนโลยี วิทยาลัยเทคนิคนครนายกทั้ง 5 เรื่องนี้ ได้นำไปเผยแพร่แก่กลุ่มผู้สนใจในจังหวัดน่านทั้งสิ้น 3 กลุ่มด้วยกันคือ
- 1.กลุ่มเกษตรกร องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านก๋ง จำนวน คน ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่จะทำนาและปลูกพริกหลังเก็บเกี่ยวข้าวเป็นหลัก
- 2.กลุ่มเกษตรกร องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยู้ และบุคลากรของสถานศึกษาในสังกัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตตำบลบ้านยู้ จำนวน 35 คน
- 3.กลุ่มนี้มีจำนวนทั้งสิ้น คน ประกอบด้วยนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร กลุ่มอารักขาพืชจำนวน 15 อำเภอ ๆ ละคน ของจังหวัดน่าน เจ้าหน้าที่เกษตรจังหวัดและเกษตรกรอีกจำนวน 2 คน ซึ่งกลุ่มผู้สนใจกลุ่มนี้จะสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่แก่เกษตรกรได้ต่อไป
การไปเผยแพร่ผลงานทางคลินิกเทคโนโลยี วิทยาลัยเทคนิคนครนายก ในครั้งนี้ คณะทำงานได้มีโอกาสเข้าศึกษาดูงาน ณ คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนาน่าน ซึ่งก็ทำให้ได้รับแนวคิดที่ช่วยสร้างวิสัยทัศน์ในการทำงานให้กว้างขวางออกให้ได้เป็นอย่างดี ทั้งยังได้เห็นแบบอย่างงานวิจัย การแสดงผลงาน ตลอดจนการถ่ายทอดเทคโนโลยีในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาอีกด้วย
นอกจากนี้คณะวิทยากรของเรายังได้มีโอกาสเข้าศึกษาดูงาน ณ หอศิลป์ริมน่าน ซึ่งทำให้ได้แนวคิดทางด้านศิลปะมาประยุกต์ใช้กับผลงานที่อาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้ผลงานที่เราสร้างขึ้นประกอบด้วยศาสตร์และศิลป์ การศึกษาดูงานที่นี่ทำให้มีโอกาสได้พบปะแลกเปลี่ยนความรู้และแนวคิดกับคุณวินัย ปราบริปู ผู้เป็นเจ้าของสถานที่และศิลปินเจ้าของผลงานชื่อดัง ซึ่งเราสามารถนำประสบการณ์ครั้งนี้มาใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์และการเผยแพร่ผลงานได้เป็นอย่างดี
ณ เมืองน่านที่นี่มีหลายมุข
เราประยุกต์มาใช้ให้เกิดผล
วิทยากรที่มาทุกทุกคน
มีสุขล้นได้ทำงานประสานใจ